หน้าที่ AE (Account Executive) ทำอะไรบ้าง

AE (Account Executive) ในแผนก “บริหารงานลูกค้า” (CLIENT SERVICE) ซึ่งทำหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าโดยตรง หลายคนคงสับสน ว่าจริงแล้วตำแหน่ง AE นั้น เป็นตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ฝ่านไหน รับผิดชอบ ทำอะไรกันแน่ AE ไม่ใช่ฝ่ายบัญชีนะครับ  เพราะคำว่า ACCOUNT EXECUTIVE นั้นหมายถึง การบริหารงานลูกค้า โดยเรียกลูกค้าแต่ละรายว่า ACCOUNT ถ้า AE คนไหนดูแลลูกค้า 1 ราย ก็เรียกว่ามี 1 ACCOUNT ให้ HANDLING หรือให้ “ถือ” นั่นเอง

ขอสรุปคร่าวๆ ในหน้าที่ของตำแหน่งงาน AE นะครับ ว่าคนที่รับผิดชอบตำแหน่งนี้ จะต้องทำหน้าที่อะไรบ้างในบริษัท 

  1. ตำแหน่ง AE เปรียบเหมือนฝ่ายขายของบริษัท ทำการขายสินค้าของบริษัท คือ ขายไอเดียต่างๆ ของบริษัทที่ได้คิดขึ้นมา ให้กับลูกค้า
  2. ทำหน้าที่ Brief หรือ สรุปไอเดีย ความต้องการของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าของบริษัทให้กับ ฝ่ายต่างๆในบริษัท
  3. ช่วยเหลือให้คำแนะนำ ตรวจสอบความถูกต้องของงานก่อนนำเสนอลูกค้า
  4. คิดและนำเสนองานใหม่ๆ ให้กับบริษัท และลูกค้าของบริษัท อยู่เสมอ
  5. ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เชื่อมประสานงาน ระหว่าง ลูกค้าของบริษัท และ ลูกค้าที่มาใช้บริการกับทางบริษัท
  6. มีความเข้าใจ มีความรู้ มีความสามารถในสินค้าแต่ละตัวของบริษัท เพราะต้องเข้าใจและกล้าตัดสินใจ ซึ่ง AE จะต้องเป็นฝ่ายไปพบลูกค้าเพื่อนำเสนองานขายให้กับลูกค้าและรับ Brief กับลูกค้าโดยตรง
  7. เมื่อได้รับ Brief จากลูกค้า ต้องมานำเสนองานให้กับฝ่ายงาน หรือ พนักงานในบริษัทที่เกี่ยวข้อง ให้รับทราบ
  8. ต้องเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานหรือองค์กรที่กำลังต้องการนำเสนอผลงาน หรือโฆษณาสินค้า โดยจะต้องเข้าไปเจรจากับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจและสามารถอนุมัติงานชิ้นนั้นให้ได้
  9. ทำหน้าที่ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย เป็นตัวกลางเจรจาและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างลูกค้าและทีมฝ่ายผลิตผลงาน ในบริษัทของตน เพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่ทั้งสองฝ่ายให้ได้
  10. พบปะพูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก (ลูกค้า) จำต้องมีทักษะการสื่อสารและเจรจาที่ดี ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

คุณสมับติที่ดี ของ AE ที่ดี (ที่บริษัทจะจ้างงานคุณ)

  1. อาจารย์ของผู้เขียน เคยกล่าวไว้ว่า “AE มีหมวก 2 ใบ” หมวกใบที่ AE ใส่เมื่ออยู่ในบริษัทนั้น คือหมวกของลูกค้า หมายความว่า AE ต้องสวมบทบาท เสมือนหนึ่งเป็นลูกค้า เมื่ออยู่ในบริษัท ตลอดจนรักษา ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกค้าสมควรจะได้ ทนได้แม้จะถูกวีน ไม่ว่าทั้งจากลูกค้า หรือ CREATOR (รู้ๆ กันอยู่ว่า พวกศิลปินน่ะ อีโก้สูงจะตาย หากพลั้งเผลอ ไปติงานของเขา สุ่มสี่สุ่มห้าล่ะก็ คำว่าตายยังดูจะน้อยไป!) กลยุทธ์ในการ “ติเพื่อก่อ” ทั้งหลายเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับ AE ที่ควรขวนขวาย หาติดตัวไว้เสมอ การติงานของ CREATOR โดยลอกประโยค ของลูกค้ามาทั้งดุ้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ เช่น ลูกค้าติมาว่า “ผมว่าสีนี้มันดูเชยๆ ยังไงไม่รู้ ผมไม่ชอบ อยากให้เปลี่ยนเป็นสีแดงๆ อั่ง อั๊งจะดีกว่า” ประโยคเช่นนี้ควรจะเข้าหูของ CREATOR เป็น “พี่คะ ลูกค้าชอบสไตล์นี้มากค่ะ แต่เขาอยากได้สีที่สะดุดตากว่านี้สักนิดนึง (คำว่า “นิด” ให้ออกเสียงให้สั้นที่สุด เท่าที่เคยพูดมาในชีวิต หากไม่แน่ใจ ให้ซ้อมหน้ากระจกก่อนสัก 2-3 รอบ) พี่คิดว่าจะแนะนำสีอะไรให้ลูกค้าดีคะ?”
  2.  บริการคือการทำใจที่จะไม่ได้หยุดในวันหยุดต่างๆ เพราะวันเหล่านั้น มักจะถูกกำหนด ให้เป็นวันถ่ายหนัง อัดสปอร์ตโฆษณา เพราะใครๆ มักจะว่างพร้อมกันในวันหยุด ส่วนวันทำงานเขาก็ทำงานกันน่ะซี้!
  3. อย่างน้อยที่สุดควรรู้ว่า สินค้าของเรา มีคุณสมบัติอะไร จุดที่แข็ง หรืออ่อนกว่าคู่แข่ง มีอะไรบ้าง ใครคือคู่แข่งที่สำคัญ เขาใช้กลยุทธ์ ทางการโฆษณาอย่างไร การหมั่นติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด จะทำให้เรามีความมั่นใจ เมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค้า และ CREATOR
  4. มีความรู้ทางภาษาอังกฤษพอสมควร ผู้เขียนเคยเจอ AE คนหนึ่ง สวย หรู ดูเก๋มาก ในขณะนั้น เธอเพิ่งจบ “โท” จากนอกมาสดๆ ร้อนๆ วันหนึ่งผู้เขียน ได้มีโอกาสเข้าไปรับ BRIEF พร้อมกับเธอ เหตุการณ์ ยังคงดำเนินไปอย่างราบรื่น เพราะในสายตา ของลูกค้านั้น เธอได้รับความไว้วางใจไปแล้วกว่า 80%
  5.  เพราะหากยึดข้าง CREATOR เป็นที่ตั้ง เราอาจจะได้เห็นโฆษณา ยาประดงเลือดที่มีน้องตุ้ม (นักมวย) เป็น PRESENTER นัยว่าเพื่อความสนุกสนาน และชวนให้สนใจ ของโฆษณาโดย CREATOR อาจจะลืมประเด็นที่ว่า น้องตุ้มไม่มีเลือด จะให้ประดง หรือถ้าจะยึดตามใจ ลูกค้าสุดขีดก็อาจจะมีแต่โฆษณา ประเภทที่เอาเจ้าของบริษัท และ/หรือ ญาติพี่น้อง มาชูขวดสินค้า แล้วอ่านสรรพคุณของสินค้า สลับกับการย้ำชื่อสินค้า ไปตลอด 30 วินาที ซึ่งก็คงจะเป็นฝันร้าย ของผู้ชมเป็นแน่

บริษัทรับทำเว็บ

 


ติดต่อบริษัททำเว็บไซต์ ปรึกษาเรา

โทร.094-632-3665, 099-463-6235

Line ID : @cw.in.th

error: Content is protected !!