“ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก “กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก

การเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ได้แรงหนุนมาจาก “สมาร์ทโฟน” ที่ปัจจุบันมีรุ่นราคาไม่แพงออกมาวางจำหน่ายมากมายหลากรุ่น หลายแบรนด์ ทำให้ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และสะดวกขึ้น
โดยประมาณการณ์ว่าในปี 2017 ทั่วโลกมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องแรกในชีวิต ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของจำนวนประชากรโลกกว่า 7,600 ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาร์ทโฟน และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต-สมาร์ทโฟน ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งาน Social Media โดยปัจจุบันประชากรกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก ใช้ Social Media เป็นประจำทุกเดือน โดย 9 ใน 10 คนของผู้ใช้งาน Social Media เลือกเข้าผ่าน Mobile Device

“We Are Social” ดิจิทัลเอเยนซี่ และ “Hootsuite” ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions ได้รวบรวมสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เพื่อฉายภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคธุรกิจออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ได้เผยว่าขณะนี้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 4,000 ล้านคนทั่วโลก

จาก 3 กราฟฟิกข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า

  • ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากร 7.593 ล้านคน (55% อาศัยอยู่ในเขตเมือง)
  • จากจำนวนประชากรโลกทั้งหมด มี 4.021 พันล้านคน เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้งาน Social Media เป็นประจำ มากถึง 3.196 พันล้านคน
  • ทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดในโลก คือ ยุโรปเหนือ (94%) ตามมาด้วย ยุโรปตะวันออก (90%), อเมริกาเหนือ (88%) ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 58% ของจำนวนประชากรในภูมิภาคนี้
  • ทวีปที่มีผู้ใช้ Social Media มากสุดในโลก คือ อเมริกาเหนือ (70%) ตามมาด้วย ยุโรปเหนือ (66%), เอเชียตะวันออก (64%) ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ Social Media 55% ของจำนวนประชากรในภูมิภาคนี้

กราฟิกข้างต้น แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในยุค “Mobile First” ที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลก หันมาเลือกเข้าผ่าน Mobile Device กันมากขึ้น โดย 3 อันดับภูมิภาคที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Mobile Device มากสุด คือ ยุโรปตะวันออก (157%) ตามมาด้วย แอฟริกาใต้ (147%) และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (141%)

จากกราฟิกข้างต้น แพลตฟอร์ม Social Media ยอดนิยมทั่วโลก ยังคงเป็น “Facebook” ตามมาด้วย “YouTube” ส่วนอันดับ 3 คือ “Whatsapp” ต่อด้วย “Facebook Messenger” และ “WeChat”

ขณะที่ 5 อันดับภาษาที่นิยมสื่อสารกันบน Facebook แน่นอนว่าอันดับ 1 เป็นภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ ภาษาสเปน, ภาษาฮินดี, อินโดนีเซีย, ภาษาโปรตุกีส ทั้งนี้ “ภาษาไทย” ติดอันดับ 12 ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 52,000,000 คน

เจาะลึกพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย

 

จากกราฟฟิกข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า…
– ประเทศไทยมีประชากร 69.11 ล้านคน (53% อยู่ในเขตเมือง) แบ่งเป็นประชากรผู้หญิง 51.3% – ผู้ชาย 48.7%
– รายได้ต่อหัวประชากรไทย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 16,946 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี
– อัตราการรู้หนังสือของประชากรไทย คิดเป็นสัดส่วน 97% ของประชากรทั้งประเทศ
– มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคน
– มีผู้ใช้งาน Social Media มากถึง 51 ล้านคน
– มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สูงถึง 93.61 ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรทั้งประเทศ
– ในจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด มีผู้ใช้ Social Media เป็นประจำผ่าน Smart Device 46 ล้านคน

พฤติกรรมดูวิดีโออนไลน์ของคนไทย พบว่า
57% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกวัน
27% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกสัปดาห์
9% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกเดือน
3% ดูวิดีโอออนไลน์น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
3% ไม่เคยดูวิดีโอออนไลน์

ขณะที่พฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อการดู “ทีวี” ยังพบว่ามากถึง 96% ดูทีวีผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจคือ มี 21% ที่ดูคอนเทนต์ Online Streaming บนเครื่องรับโทรทัศน์ แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน “Smart TV” เริ่ม Penetrate เข้าไปอยู่ในครัวเรือนคนไทยมากขึ้น และมี 40% ดูคอนเทนต์ Online Streaming ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต

เปิดพฤติกรรมการใช้ “Social Media” คนไทย – “กรุงเทพฯ” ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีผู้ใช้ Facebook มากที่สุดในโลก

– คนไทย 51 ล้านคนใช้ Social Media
– ในจำนวนคนใช้ Social Media มีมากถึง 46 ล้านคนเข้าผ่าน “Mobile Device”
– “Facebook” ยังคงเป็น Social Media ยอดนิยมอันดับ 1 ของคนไทย / ส่วนอันดับ 2 คือ “YouTube / อันดับ 3 “LINE” / อันดับ 4 “Facebook Messenger” / อันดับ 5 “Instagram”
– ยอดผู้ใช้งาน Facebook ในไทย อยู่ที่ 51 ล้านคน แบ่งเป็น 49% ผู้หญิง และ 51% ผู้ชาย
– จากยอดผู้ใช้ Facebook ในไทยโดยรวม มีมากถึง 90% เข้าผ่าน “Mobile Device”

5 เมืองที่มีผู้ใช้ Facebook มากที่สุดในโลก
อันดับ 1 กรุงเทพฯ 22,000,000 คน
อันดับ 2 ธากา (บังคลาเทศ) 20,000,000 คน
อันดับ 3 เบกาซิ (อินโดนีเซีย) 18,000,000 คน
อันดับ 4 จาการ์ต้า (อินโดนีเซีย) 16,000,000 คน
อันดับ 5 เม็กซิโก ซิตี้ 14,000,000 คน

5 อันดับกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ
อันดับ 1 ส่งข้อความแชท (77%)
อันดับ 2 ดูวิดีโอ (75%)
อันดับ 3 เล่นเกม (66%)
อันดับ 4 ใช้ Mobile Banking (56%)
อันดับ 5 ใช้บริการ Mobile Map ค้นหาสถานที่ (64%)

8 ฟังก์ชั่นการใช้งานยอดนิยมบนสมาร์ทโฟน
อันดับ 1 ตั้งนาฬิกาปลุก (42%)
อันดับ 2 ตารางนัดหมายประจำวัน (25%)
อันดับ 3 เช็คสภาพอากาศ (18%)
อันดับ 4 ใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับการออกกำลังกาย-สุขภาพ (7%)
อันดับ 5 ถ่ายรูป-วิดีโอ (54%)
อันดับ 6 เช็คข่าวสาร (26%)
อันดับ 7 อ่าน e-books / e-magazine (19%)
อันดับ 8 จดบันทึกต่างๆ เช่น รายการซื้อของ, ภารกิจในแต่ละวัน

10 อันดับแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานสูงสุดในไทย
อันดับ 1 LINE
อันดับ 2 Facebook
อันดับ 3 Facebook Messenger
อันดับ 4 Instagram
อันดับ 5 K-Mobile Banking
อันดับ 6 Joox Music
อันดับ 7 LAZADA
อันดับ 8 Twitter
อันดับ 9 WHOSCALL
อันดับ 10 My AIS

10 อันดับแอปพลิเคชันที่มีผู้ดาวน์โหลดสูงสุดในไทย
อันดับ 1 Facebook Messenger
อันดับ 2 Facebook
อันดับ 3 LINE
อันดับ 4 Joox Music
อันดับ 5 Camera360
อันดับ 6 Instagram
อันดับ 7 4Share
อันดับ 8 LAZADA
อันดับ 9 YouTube
อันดับ 10 Shopee

เจาะลึกพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์คนไทย 
ปัจจัยด้าน Financial Product/Service ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ (E-Commerce) โดยพบว่า
78% ของคนไทยมีบัญชีเงินฝากธนาคาร
6% มีบัตรเครดิต
1% ทำธุรกรรม Mobile Payment
4% ชำระค่าสินค้า/จ่ายบิลผ่านออนไลน์
6% ของผู้หญิงใช้ Internet Payment
3% ของผู้ชายใช้ Internet Payment

พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้า E-Commerce (ในช่วงระยะเวลา 30 วันที่ผ่านมา)
71% ค้นหาข้อมูลสินค้า-บริการก่อนตัดสินใจซื้อ
70% เข้าไปดูร้านค้าออนไลน์
62% ตัดสินใจซื้อสินค้า-บริการบนออนไลน์
52% ซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
52% ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในยุคดิจิทัล การซื้อสินค้า-บริการใดก็ตามบนออนไลน์ ผู้บริโภคยุคนี้จะค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ ขณะเดียวกันแนวโน้มการซื้อของออนไลน์ จะสั่งซื้อผ่าน “สมาร์ทโฟน” มากขึ้น

ปัจจุบันมีคนไทย 11.92 ล้านคน ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคบน E-Commerce โดยคิดเป็นมูลค่าการยอดขายบนออนไลน์ 2.962 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโตโดยเฉลี่ย 22% ต่อปี) และยอดการใช้จ่ายต่อคนต่อปี อยู่ที่ 248 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณกว่า 8,600 บาท

มูลค่าการจับจ่าย และอัตราการเติบโตของแต่ละกลุ่มสินค้าที่คนนิยมซื้อบน E-Commerce
– เครื่องใช้ไฟฟ้า และ gadget 1,258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 14%)
– สินค้าและบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 1,449 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 29%)
– แฟชั่น/บิวตี้ 531.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 38%)
– ของเล่น และสินค้า DIY ต่างๆ 510.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 30%)
– เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน 475.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 23%)
– วิดีโอเกม 228.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 10%)
– อาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล 187.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 23%)
– ดิจิทัล มิวสิค 30.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโต 6%)

ปิดท้ายผลวิจัย 2018 Digital Yearbook สำหรับประเทศไทย ด้วยการใช้ “สื่อโฆษณา” เพื่อสร้าง Brand/Product Awareness ให้ได้ผล พบว่าสื่อ 5 อันดับแรกที่ “ทรงพลัง” ในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์และสินค้า-บริการ คือ
อันดับ 1 สื่อโทรทัศน์
อันดับ 2 สื่อออนไลน์
อันดับ 3 สื่อสิ่งพิมพ์
อันดับ 4 สื่อในสโตร์
อันดับ 5 โปสเตอร์

ขอขอบคุณที่มา : www.brandbuffet.in.th

error: Content is protected !!