บทความ SEO หรือการทำ SEO Content ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจที่ใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางหลักในการดึงดูดลูกค้า หรือ Traffic เข้าเพื่อเก็บ Lead หรือ ปิดการขาย ซึ่งการที่จะให้บทความที่เขียนขึ้นไปติดอันดับแรกๆ บน Google นั้น จะต้องเขียนให้ถูกหลักการทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยในบทความนี้ Pacy Media จะพาคุณมาทำความรู้จักว่า บทความ SEO คืออะไร มีวิธีการเขียนอย่างไร พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย!
หลายคนยังเข้าใจว่าการทำ SEO Content หรือการเขียนบทความ SEO คือการใส่ Keyword เข้าไปเยอะๆ ซึ่งทาง Pacy Media ขอค้านหลังชนฝา ถึงแม้การใส่ Keyword จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันยังมีอีกหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องปรับแต่ง รวมถึงการใส่ Keyword ในจำนวนที่เยอะเกินไป บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อ SEO ด้วยก็เป็นได้
แต่อย่าเพิ่งท้อ! เราจะพยามรวบรวมประสบการณ์ของเอเจนซี่เราทั้งหมดที่ทำให้ลูกค้ากว่า 50เว็บไซต์ มาสรุปเฉพาะประเด็นที่สำคัญให้ออกมาง่ายที่สุด สามารถลงมือทำหลังอ่านจบได้เลยหากใครยังเป็นมื่อใหม่เกี่ยวกับ SEO และยังงงๆ ว่าเรากำลังพูดถึงอะไร แนะนำให้ลองอ่านบทความ SEO คืออะไร ของเราก่อนหน้านี้
ประโยชน์ของการทำบทความ SEO
หากคุณคือ Marketing Manager แล้วผู้บริหารถามว่าจะทำบทความ SEO ไปทำไม ตอบอย่างมั่นใจได้เลยว่า Pacy Media บอกมา ..
- บทความที่มีการปรับแต่งตามหลักของ SEO มีโอกาสในการติดหน้าแรกของ Google มากกว่า
- ซึ่งการติดหน้าแรก Google จะช่วยเพิ่ม Organic Traffic (ไม่เสียเงินค่าโฆษณา) เข้าเว็บไซต์
- และถ้าเราทำบทความ SEO ต่อเนื่อง หรือมาการวางแผนทำ SEO Content ก็จะยิงมีหลายบทความที่มีโอกาสติดหน้าแรก ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นประตูหลายบานที่จะเชื่อมโยง Potential Customer เข้ามายังเว็บไซต์ได้
- คนเราเวลามีปัญหาอะไร หรืออยากรู้อะไร ก็มักจะพึ่ง Google โดยถ้ากลุ่ม Potential Customerกำลังต้องการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเรา และเจอบทความจากเว็บไซต์เราที่สามารถช่วยตอบปัญหา หรือนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นอกจากที่แบรนด์ของเราจะได้ Awareness แล้ว ยังได้รับการยอมรับในด้านความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือ และโอกาสในการเข้ามาเป็นลูกค้าด้วยเช่นกัน
- ไม่ว่าจะธุรกิจ B2B หรือ B2C ก็สามารถวางแผนกลยุทธ์การทำบทความ SEO ได้เช่นกัน
- การทำบทความ SEO ถือว่าเป็นการตลาดที่ใช้งบประมาณน้อยมาก หากเทียบกับจำนวนOrganic Traffic ที่สามารถสร้างเข้ามายังเว็บไซต์
- การอัปเดตบทความ SEO จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์มีความเคลื่อนไหว มีเนื้อหาใหม่ๆ และส่งผลต่อประสิทธิภาพของ SEO โดยรวมทั้งเว็บไซต์
เทคนิคการเขียนบทความ SEO
- เริ่มจากการกำหนด Keyword จุดประสงค์ของการทำบทความ SEO คือการทำให้บทความนั้นขึ้นแสดงผลบน Google เมื่อมีการค้นหาใน Keyword ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นขั้นตอนแรกคือการกำหนด Keyword ที่ต้องการ ซึ่งอย่าลืมดูเรื่อง Search Intent ด้วย
เช่น ร้านกาแฟร้านหนึ่งขายอุปกรณ์ดริปกาแฟด้วยตัวเองที่บ้าน พบว่ามีคอกาแฟมือใหม่ที่ค้นหาเกี่ยวกับวิธีการดริปกาแฟบน Google ทางร้านกาแฟก็สามารถเขียนบทความโดยโฟกัส Keyword คำว่า “การดริปกาแฟ” รวมถึงยังสามารถโฟกัสคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น “วิธีดริปกาแฟ” “เทคนิคการดริปกาแฟ” ก็ได้เช่นกัน
โดยการกำหนด Keyword คำอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ควรกำหนดคำที่ออกนอกเนื้อหาเกิน ควรนำไปใช้เป็นไอเดียสำหรับบทความใหม่ แล้วเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ ไปเลย อย่างเช่นคำว่า “ชุดดริปกาแฟ” ซึ่งจะหลุดจากประเด็นวิธีการดริป ก็สามารถแยกไปเขียนเป็นอีกบทความ เกี่ยวกับ “ชุดดริปกาแฟ” หรือ “อุปกรณ์ดริปกาแฟ”
เครื่องมือสำหรับการประเมิน Keyword
เราแนะนำให้ลองใช้ Google Keyword Planner หรือจะลองเป็น Ubersuggest ก็ได้ โดยในบทความนี้ เราขอแชร์การใช้งานบน Ubersuggest เนื่องจากฟรี และลองทดสอบใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนในตัวอย่างของร้านกาแฟ เมื่อลองเข้าไปที่ Ubersuggest และใส่คำว่า “การดริปกาแฟ” ก็จะพบว่ามีจำนวนการค้นหาเฉลี่ย 1,900 ครั้งต่อเดือน - การตั้งชื่อหัวข้อบทความ
หัวข้อของบทความเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะอยู่ในตำแหน่ง H1 หรือ Heading 1 ซึ่ง Google จะให้ความสำคัญมาก ดังนั้นเราควรให้น่าสนใจเพื่อให้ผู้ใช้คลิกเข้ามาอ่าน และต้องมี Keyword หลักของบทความ -
การวางโครงเนื้อหาบทความ
บทความควรแบ่งเนื้อหาออกเป็น Section ย่อยๆ ไม่ควรเขียนทั้งบทความติดกันยาวจนไม่น่าอ่าน โดยมีหัวข้อย่อยที่ใช้ H2 หรือ H3 เป็น Tag ของหัวข้อตามลำดับ
เนื้อหาบทความแต่ละย่อหน้าก็ไม่ควรยาวมากเกินไป เพื่อความสบายตา อีกทั้งยังควรใช้ Bullet เพื่อให้ง่ายต่อการจับใจความเนื้อหา และหากส่วนไหนควรมีภาพประกอบ ก็ควรใส่ภาพประกอบขั้นด้วยเช่นกัน
-
การใส่ Keyword ในบทความเพื่อประโยชน์ด้าน SEO
เราจะแบ่ง Keyword ออกเป็น 2 ส่วน คือ
- Primary Keyword คือ คำค้นหาหลัก เช่น “การดริปกาแฟ”
- Secondary Keyword คือ คำค้นหารอง เช่น “วิธีดริปกาแฟ”, “เทคนิคการดริปกาแฟ” และ “การดริปกาแฟให้อร่อย”
โดยการใส่ Keyword จะเน้นไปที่ Primary Keyword เป็นหลัก เช่น ถ้าบทความมีเนื้อหายาว 1,000 คำ อาจมี Primary Keyword กระจายอยู่ 6 ครั้ง และมี Secondary Keyword กระจายอยู่ 3-4 ครั้ง เป็นต้น
-
Meta Title และ Meta Description
Meta Tags คือโค้ดที่ Google Bot จะเข้ามาเก็บข้อมูล โดยส่วนที่สำคัญต่อการแสดงผลบน Google คือ Meta Title และ Meta Description ซึ่งควรเขียนให้น่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้ใช้คลิกเข้ามาอ่าน และยังต้องรวม Primary Keyword อยู่ใน Meta Title ด้วย