404-Error-Page

การ REDIRECT ให้เว็บไซต์มีอะไรบ้าง

ทำความรู้จักกับคำนี้ก่อนนะครับ นั่นก็คือ Redirect ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเส้นทาง หน้า Landing Page หรือ URL ใดๆ ให้แสดงผลลัพธ์เป็น Landing Page อีกหน้าหนึ่ง และวิธีการนี้แหละครับที่จะช่วยแก้ปัญหาหน้า 404 page not found ให้กับคุณได้ แต่คุณจะต้องรู้ประเภทต่างๆ ของการทำ Redirect ว่ามีอะไรบ้าง ถึงจะเลือกใช้ได้ถูก ซึ่งผมจะขอแบ่งประเภทของการทำ Redirect ไว้คร่าวๆ ดังนี้

  1. 301 Redirect
    เป็นการ Redirect ประเภทถาวร โดยจะทำการย้าย URL ไปอยู่ที่ตำแหน่งใหม่อย่างถาวร ทำให้ Search Engine ทำการส่ง Authority Score จาก Backlink ต่างๆ ที่ URL เดิมเคยได้รับไปยัง URL ใหม่ที่จะใช้แทน
  1. 302 Redirect
    เป็นการ Redirect ประเภทชั่วคราว ใช้สำหรับส่งผู้ใช้ไปยังไซต์หรือเพจใหม่ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น เมื่อคุณออกแบบใหม่หรืออัปเดตเว็บไซต์ของคุณ แต่คนส่วนใหญ่จะนิยมทำ 301 Redirect ไปเลยมากกว่า
  1. 410 Redirect
    เป็นการทำ Redirect เพื่อบอกกับ Search Engine ว่า URL หน้านี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว คุณต้องการลบหน้านี้ออกไปจากเว็บไซต์ จะไม่มีการดึงขึ้นมาจัดทำดัชนีอีก พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการลบหน้าเว็บไซต์ออกไปแบบถาวรนั่นเอง
  2. HTTP error 503 หรือข้อผิดพลาด 503

    ข้อผิดพลาด 503 มักจะอ้างถึงปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แต่ความจริงแล้วมันหมายความว่าระบบไม่สามารถดำเนินการตามคำขอของลูกค้าได้ตามที่คาดไว้
    ข้อผิดพลาด 503 อาจปรากฏขึ้นหากเซิร์ฟเวอร์ไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับจำนวนผู้ใช้ที่พยายามเข้าถึงเว็บไซต์ สิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเว็บไซต์ที่มีการรองรับผู้เข้าชมจำนวนน้อยแต่กลับมีผู้เข้าชมมากกว่าความสามารถในการรองรับ อีกสาเหตุหนึ่งคือหน้าเว็บกำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นหรืออาจเป็นการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (DDoS)

  3. ข้อผิดพลาด 505

    คือรหัสสถานะ HTTP ที่บ่งชี้ถึงปัญหาด้านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถรองรับเวอร์ชันของโปรโตคอล HTTP ที่ร้องขอได้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอของไคลเอนต์ได้ ซึ่งแตกต่างจากข้อผิดพลาด 404 ทั่วไปสำหรับ “ไม่พบหน้า” ข้อผิดพลาด 505 บ่งชี้ถึงความไม่สามารถของเซิร์ฟเวอร์ในการทำความเข้าใจหรือรองรับเวอร์ชัน HTTP ที่ร้องขอ

  4. HTTP 303

    เกิดขึ้นเมื่อมีการย้ายหน้าชั่วคราว ส่งผลให้เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถเชื่อมต่อกับทรัพยากรที่ร้องขอได้ HTTP 303 อาจกลายเป็นปัญหาได้ในบางสถานการณ์ หากไม่ได้ทำอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาในการแคชการใช้แบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นและเวลาในการโหลดช้าลงซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ใช้โดยรวม

    เช่น เมื่อผู้ใช้ส่งแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ เซิร์ฟเวอร์อาจตอบกลับด้วยรหัสสถานะ 303 และ URL ใหม่ จากนั้นเบราว์เซอร์จะส่งคำขอ GET ไปยัง URL ใหม่เพื่อดึงทรัพยากรที่ต้องการ

  5. Error 404

    404 Not Found หรือ Error 404 คือหน้าที่แจ้งเตือนว่าไม่พบข้อมูลอยู่ใน Server ของเว็บไซต์นี้ หรือไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์นี้ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือลิงก์เสียนี่แหละครับ
    แม้ว่า Error 404 จะไม่มีผลกับการจัดอันดับของเว็บไซต์ แต่สิ่งที่ทำให้เราไม่ควรมองข้ามปัญหานี้ก็คือ มันมีผลต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บไซต์

    ผมเชื่อว่าหลายคนรวมถึงคุณ เวลาค้นหาข้อมูลบน Google ต้องเคยเจอกับเว็บไซต์ที่มี Error แบบนี้ และเมื่อเรากดเข้ามาเจอแบบนี้บ่อยครั้ง คุณก็จะจำได้ว่าเว็บนี้มันใช้การไม่ได้ สุดท้ายคุณก็จะ เลิกคลิก!

 

error: Content is protected !!